ภารกิจและหน้าที่รับผิดชอบ
อำนาจหน้าที่ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2552
(อ้างอิงจากกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2552 [ ดาวน์โหลด ] )
1) พัฒนาระบบการตรวจวิเคราะห์และให้บริการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ สมุนไพร และการชันสูตรโรค
2) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีทางห้องปฏิบัติการด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ สมุนไพร และการชันสูตรโรคเพื่อควบคุมคุณภาพและความปลอดภัยตามกฏหมาย
3) เป็นห้องปฏิบัติการอ้างอิงด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ สมุนไพร และการชันสูตรโรค
4) พัฒนาคุณภาพห้องปฏิบัติการ สนับสนุนด้านวิชการการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการตรวจวิเคราะห์และชันสูตรโรคแก่ห้องปฏิบัติการเครือข่าย ห้องปฏิบัติการภาครัฐและภาคเอกชน
5) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
เขตพื้นที่รับผิดชอบ
ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 12 ปฏิบัติหน้าที่รับผิดชอบครอบคลุมพื้นที่ใน 4 จังหวัดภาคใต้ คือ สงขลา, ปัตตานี, ยะลา และนราธิวาส
หน้าที่รับผิดชอบ
หน้าที่รับผิดชอบศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 12 ทำหน้าที่เป็นห้องปฏิบัติการให้บริการตรวจวิเคราะห์ยา สมุนไพร อาหาร
เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ ตรวจชันสูตร และพิสูจน์ยืนยันทางพยาธิวิทยาคลินิค ตรวจสอบมาตรฐานและความปลลอดภัยของ
เครื่องกำเนิดรังสี ตามความต้องการของสถานที่บริการสาธารณสุขและเอกชน เพื่อส่งเสริมสุขภาพอนามัยและสนับสนุนการรักษา
การควบคุมเฝ้าระวังและป้องกันโรค รวมทั้งเป็นการวิจัยและพัฒนาวิชาการด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อก้ไช้ปัญหาสาธารณสุข
ในพื้นที่รับผิดชอบ
บทบาทหน้าที่กิจกรรมและการให้บริการที่สำคัญ
1. ฝ่ายบริหารทั่วไป
- ฝ่ายบริหารทั่วไป
- งานสารบรรณและธุรการ
- งานการเงินบัญชีและงบประมาณ
- งานพัสดุ
- งานเจ้าหน้าที่เบื้องต้น
- งานยานพาหนะและอาคารสถานที่
- งานประชาสัมพันธ์
2. กลุ่มพัฒนาคุณภาพและวิชาการ
- ประสานงานช่วยเหลือและสนับสนุนการควบคุมคุณภาพทั้งภายในและภายนอกให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล
- วางแผนการดำเนินงานพัฒนาบุคลากรของศูนย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งด้านวิชาการและอื่นๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและสมรรถภาพการทำงานร
- จัดทำแผนปฏิบัติการและติดต่อประสานผล การปฏิบัติงานของหน่วยวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 12
3. กลุ่มคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข
3.1 กลุ่มงานรังสีและเครื่อมือแพทย์
- ตรวจสอบมาตรฐานและความปลอดภัยของเครื่องกำเนิดรังสีเอกซ์
- ตรวจสอบความสามารถในการป้องกันรังสีและห้องติดตั้งเครื่องกำเนิดรังสีเอกซ์
- ออกแบบการคำนวณการใช้วัสดุก่อสร้างติดตั้งระบบไฟฟ้าในห้องเอกเรย์
- ตรวจสอบมาตรฐานคุณภาพของเครื่องมือแพทย์ เช่น ถุงยางอนามัย ถุงมือทางการแพทย์
- ให้บริการสอบเทียบเครื่องตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ในเลือดโดยวิธีเป่าลมหายใจ
- ให้คำแนะนำเกี่ยวกับ
- ระเบียบและขั้นตอนการขออนุญาตผลิตและใช้พลังานรังสีเอกซ์จากเครื่องเอกซเรย์
- การขอใช้บริการฟิล์มวัดรังสีประจำบุคคล
- การขอใช้บริการทดสอบการทำงาน ปรับมาตรฐานเครื่องมือรังสี ทดสอบมาตรฐานของวัสดุป้องกันรังสี
- การขอรับบริการวัดรังสีรักษา
- ศึกษาค้นคว้าวิจัยทางด้านรังสี และเครื่องมือแพทย์
- พัฒนาวิธีการป้องกันอันตรายจากรังสี วิธีการทดสอบเครื่องกำเนิดรังสีและวิธีทดสอบเครื่องมือแพทย์
- ให้ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ คำปรึกษา แนะนำด้านรังสีและเครื่องมือแพทย์แก่เจ้าหน้าที่และประชาชนทั่วไป
3.2 กลุ่มงานยา
- ตรวจวิเคราะห์คุณภาพและปริมาณทางเคมี-ฟิสิกส์ ชีววิทยาและจุลชีววิทยาตลอดจนสิ่งปนปลอมในยาแผนปัจจุบัน
และแผนโบราณ
- วัตถุสิ่งเสพติดให้โทษ วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ตรวจพิสูจน์เอกลักษณ์และปริมาณสาระสำคัญ
เพื่อประกอบการดำเนินการทางอรรถคดี
- ควบคุมคุณภาพมาตรฐานและวิธีทดสอบทางห้องปฏิบัติการด้านต่างๆ ให้มีความถูกต้อง แม่นยำ ตามระบบประกันคุณภาพ
- ศึกษาวิจัยพัฒนางานวิเคราะห์ ที่เกี่ยวข้องทางห้องปฏิบัติการด้านยา ยาเสพติด วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
- ให้คำปรึกษาแนะนำชี้แจง โดยอาศัยความรู้ทางเภสัชศาสตร์ในงานที่เกี่ยวข้องแก่ผู้ที่สนใจทั่วไป
3.3 กลุ่มงานอาหาร
- วิเคราะห์อาหารเครื่องดื่มน้ำ ทางเคมี-ฟิสิกส์และจุลชีววิทยา เพื่อประกอบการขอขึ้นทะเบียนและควบคุมคุณภาพอาหาร
ภายในประเทศและอาหารนำเข้า
- วิเคราะห์ส่วนประกอบของอาหารและสารวัตถุเจือปนในอาหาร
- วิเคราะห์สารปนเปื้อนและสารพิษในอาหาร
- ศึกษาวิจัยด้านอาหาร
- ให้คำปรึกษา แนะนำ ความรู้ด้านอาหารและการตรวจวิเคราะห์แก่เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์อาหารหน่วยงานราชการ
บริษัทเอกชน นักศึกษาและผู้สนใจทั่วไป
3.4 กลุ่มงานสมุนไพรและเครื่องสำอาง
- ตรวจวิเคราะห์สมุนไพรและเครื่องสำอางเพื่อควบคุมคุณภาพมาตรฐานและเพื่อความปลอดภัย
- ศึกษาวิจัย พัฒนาด้านสมุนไพรและเครื่องสำอาง
- ให้บริการแนะนำ สนับสนุนข้อมูลทางวิชาการด้านสมุนไพรและเครื่องสำอาง
4. กลุ่มชันสูตรสาธารณสุข
4.1 กลุ่มงานพยาธิวิทยาคลินิก
4.1.1 ตรวจชันสูตรโรคทั่วไปทางพยาธิวิทยาคลินิก
- ตรวจยืนยัน เช่น การติดเชื้อเอดส์ เชื้อโรคทางเดินอาหาร
- ตรวจชันสูตรพิเศษ เช่น โรคฉี่หนู, ซิฟิลิส, ANF, Anit DNA, Thyroid Hormone, Hb typing
4.1.2 ตรวจวินิจฉัยเชื้อไวรัส
- เชื้อโรคไข้วัดนก, เชื้อไข้วัดใหญ่
- ไข้เลือดออก
- ตรวจหาสารพันธุกรรมโดยเทคนิค PCR
- การติดเชื้อเอดส์ในเด็กที่คลอดจาดแม่ติดเชื้อ
- ธาลัสซีเมียในกลุ่มเลี่ยง, คู่แต่งงาน ฯลฯ
- สารพันธุ์โรคไข้เลือดออก
- ตรวจคัดกรองทารกแรกเกิดเพื่อหาสาเหตุของโรคอ๋อ
- พัฒนาคุณภาพห้องปฏิบัติการให้กับโรงพยาบาลในเขตเพื่อให้ได้รับมาตรฐาน HA/มาตารฐานงาน
เทคนิคการแพทย์/ISO 15189
- ฝึกอบรมปรึกษาให้ความรู้ทางวิชาการแก่เจ้าหน้าที่ทางพยาธิวิทยาคลินิกในเขตพื้นที่รับผิดชอบและควบคุมคุณภาพ
ทางห้องชันสูตรโรคในโรงพยาบาล
- ศึกษาและวิจัยปัญหาสาธารณสุขในเขตพื้นที่รับผิดชอบ โดยอาศัยการตรวจชันสูตรโรค
4.2 กลุ่มงานพิษวิทยา
- วิเคราะห์สารพิษทางนิติเวชและคลินิกจากวัตถุตัวอย่างของคนและสัตว์ เช่น น้ำล้างกระเพาะ อาเจียน เลือด ปัสสาวะ อวัยวะ
เครื่องดื่มและสิ่งที่สงสัยว่าก่อให้เกิดพิษเพื่อบำบัดรักษาและประกอบการสอบสวนคดีหรือชี้แจงเพื่อป้องกันอันตรายอันเกิดจาก พิษของวัตถุเหล่านั้น
- ตรวจหายาเสพติดให้โทษ และวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทในวัตถุตัวอย่างสงสัยทำให้เกิดพิษและปัสสาวะ
- ตรวจหาระดับสารพิษในเลือดและปัสสาวะเพื่อตรวจหา serum cholinesterase activity แก่เกษตรกรเพื่อตรวจสอบพิษของ
สารเคมีจำกัดแมลง ตรวจหาระดับสารตะกั่ว สารหนูในเลือด เป็นต้น
- ตรวจวิเคราะห์วัตถุมีพิษที่ใช้ในบ้านเรือนเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคศึกษาวิจัยด้านพิษวิทยา
เกี่ยวกับหน่วยงาน
- ประวัติความเป็นมา
- วิสัยทัศน์ พันธกิจ
- ผู้บริหาร
- โครงสร้างการบริหาร
- อัตรากำลัง
- ภารกิจและหน้าที่รับผิดชอบ
- ยุทธศาสตร์ แผนการปฏิบัติราชการ
- คู่มือการปฏิบัติงาน
- แผนงานโครงการและงบประมาณรายจ่ายประจำปี
- รายงานประจำปี
- การสื่อสารภายในหน่วยงาน
- ลักษณะสำคัญองค์กร
- คำรับรองและรายงานผลการปฏิบัติราชการ
- แผนงานโครงการ และงบประมาณรายจ่ายประจำปี
- กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง
- การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส